พาไปชมเบื้องหลังทีมงานฝ่ายเสียง

คอนเสิร์ต RETROSPECT : HEART OF THE PANTHER
เสาร์ที่ 21 เมษายน 2561

ณ LIVE PARK พระราม 9

คอนเสิร์ตที่เกิดขึ้นได้จากการรวมพลังครั้งใหญ่เพื่อการกุศลของคนเสื้อดำ เพื่อเสือดำ รายได้ทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย จะนำไปบริจาคให้มูลนิธิและโครงการดังนี้
1) มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร
2) โครงการพ่อแม่ อุปถัมภ์สัตว์ป่า ในสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช
3) กองทุนสวัสดิการกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

ทีมงาน Kimleng Audio ได้รับการติดต่อจากพี่เอ๋ Sound Engineer ของวง

ให้มาซัพพอร์ตในส่วนของอุปกรณ์เสริมที่จะช่วยให้ Sound ในคอนเสิร์ตนี้มันแน่น ปึ้ก สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น :D

หลังจากการพูดคุยทีมงาน Kimleng Audio ก็ได้ไปเตรียมตัวตั้งแต่ที่ห้องซ้อมของวงว่าต้องใช้อะไรเพิ่มบ้าง

แนวคิดอยากให้เสียงในงานนี้มันค่อนข้าง ชัด และเคลียร์ ไม่หนักมากจนเกินไป เพื่อให้ฟังได้นาน ไม่ล้า
(เนื่องจากเป็นคอนเสิร์ตใหญ่ที่ใช้ระยะเวลาแสดงกว่า 4 ชั่วโมงเต็ม)

 

จากการปรึกษากัน พี่ก๊อก(เจ้าสำนักกิมเล้ง) Recommend ลิสท์อุปกรณ์ต่างๆ

โดยแบ่งอุปกรณ์ออกเป็น 2 ส่วนคือ

  1. ไมโครโฟน และ DI
  2. outboard gears ต่างๆ

ในส่วนแรกคือชุดไมค์ต่างๆสำหรับกลองชุดนั้น

ตกลงเลือกเป็นไมค์กลองชุดของ Avantone Pro รุ่น CMDK-8 ให้เสียงที่ค่อนข้างคม ชัด เนื้อเสียงดี

 

มีส่วนเสริมคือไมค์สแนร์ที่จะใช้เป็น Telefunken M80 ให้เสียงที่คมชัด พุ่ง

 

อีกอันที่มีส่วนในเก็บเสียงรวมกลองทั้งชุดคือไมค์ Overhead ใช้เป็นแบบ Large Diaphragm

เป็น Warm Audio WA-87 ให้เสียงที่ใหญ่ คม ชัด

 

ภาพรวมที่ชุดกลองตอนเซ็ตอัพ วันซ้อม

 

พิ่มเติม ในส่วนของ DI เพื่อแปลงสัญญารเสียงกีตาร์โปร่ง

เลือกใช้เป็น Telefunken TDA-1 ซึ่งรุ่นนี้ให้เสียงที่เต็ม เนื้อเสียงอิ่มมากๆ

 

อีกส่วนที่เลือกใช้ DI เพิ่มเติมก็คือ Data Playback ซึ่งเล่นมาจากคอมพิวเตอร์

โดยทางวง Retrospect ก็ใช้ MOTU : Audio Express สำหรับเปิด Data ตอนเวลาทัวร์อยู่แล้ว

 

DI ที่เลือกใช้เป็นรุ่นเดียวกันกับกีตาร์โปร่ง แต่เป็นรุ่น Stereo คือ Telefunken TDA-2

 

ต่อมา มาพูดถึงระบบเสียงในงานกัน

งานนี้ระบบเสียงดูแล โดย One Systems Global

ลำโพงเป็น L-Acoustics (เสียงดีมากๆ)

 

ส่วนมิกเซอร์ที่วงใช้สำหรับงานนี้เป็น Roland ทั้ง 2 บอร์ด

 

พี่เอ๋ กุญช์ชาญ สวัสดี (FOH Engineer) ใช้ Roland OHRCA M-5000

 

พี่กุ่ย จุมภฏ ธรรมธารทอง (Monitor Engineer) ใช้ Roland OHRCA M-5000C

 

ส่วน Dynamic Processor ทั้งหลาย  พวกเราขนไมค์ปรีแอมป์และ outboard gears ไปใช้งานนี้หลายตัวด้วยกัน
(ซึ่งวงดังๆจากต่างประเทศ ก็จะมีของพวกนี้ติดมาด้วยเสมอๆ)

(เห็นแร็คมีแค่นี้ แต่ราคาก็พอจะซื้อรถ Eco- Car ได้คันนึงนะ :P)

 

ไมค์ปรีแอมป์ที่ใช้

API Audio 3124+ ให้โทนเสียงที่ใส เคลียร์ แล้วก็พุ่งๆ

-       สำหรับเสียงร้องหลัก (Nap), เสียงร้องรอง (Run), กระเดื่อง และ สแนร์

Warm Audio WA-412 ให้โทนเสียง ที่พุ่งๆเช่นกัน

-       สำหรับ กีตาร์โปร่ง และ Tom 3 ใบ

 

Compressor ที่ใช้

Empirical Labs : Distressor x2 ตัว

-       เสียงร้องหลัก (Nap) ปรับให้ได้คาแรคเตอร์ที่หนาขึ้น ให้พุ่งขึ้นอีก

-       เสียงร้องรอง (Run) ปรับให้คาแรคเตอร์ที่โหดขึ้น นิ่งขึ้น แต่พุ่ง ฟังชัด

Warm Audio WA-76 x2 ตัว

-       กระเดื่อง ให้คาแรคเตอร์ที่หนา ฟังดูเหนียวๆเป็นลูกใหญ่ๆ

-       สแนร์ ให้คาแรคเตอร์ คม ชัด พุ่งๆ

 

Empirical Labs : Fatso

-       กีตาร์ แบบสเตอริโอ ให้คาแรคเตอร์ที่พุ่งขึ้น มีฮาร์โมนิคของเสียง ได้ยินชัดขึ้น

 

ปิดท้ายด้วย

Dangerous Music : Compressor

-       Insert เป็น Master Buss ช่วยให้เสียงทุกอย่างรวมกันเป็นก้อนเดียวกันมากขึ้น (glue) ได้ความอิ่มเพิ่มขึ้น ได้ความ punchy มากขึ้น

 

ส่วนของเอฟเฟคนั้นที่มีมาเพิ่มคือ

Yamaha SPX2000 เป็นเอฟเฟค Reverb

-       สำหรับเสียงหลักๆ เช่น กีตาร์โปร่ง, เสียงร้องของแขกรับเชิญ ฯลฯ

 

 พี่เอ๋ กุญช์ชาญ สวัสดี (FOH Engineer) ได้พูดถึงขั้นตอนการทำงานคอนเสิร์ตไว้ดังนี้

Mixer Console ใช้ Roland M5000 ทั้งที่ FOH และ Monitor บนเวที

ระบบทำงานที่ 96kHz เพื่อรายละเอียดของเสียงที่สมบูรณ์มากที่สุด

ในส่วนของการมิกซ์เสียงชุดกลอง มีรายละเอียดดังนี้

- Kick ใช้ไมค์ Shure Beta91 เพียงไมค์เดียว เพราะเสียงเข้ากับคาแรคเตอร์วงมากที่สุด

โดยใช้ไมค์ปรีแอมป์ API Audio 3124+ และใช้ EQ ใน Roland M5000 และ Warm Audio WA-76

มา insert เพื่อเพิ่มความรู้สึกที่ Punch ตามสไตล์เพลงร็อค

- Snare ด้านบน ใช้ไมค์ Telefunken M80 เพื่อความพุ่ง คมชัด

โดยใช้ไมค์ปรีแอมป์ API Audio 3124+ และใช้ EQ ใน Roland M5000 และ Warm Audio WA-76 เช่นเดียวกับ Kick

มา insert เพื่อเพิ่มความรู้สึกที่ Punch ตามสไตล์เพลงร็อค

- Snare ด้านล่าง ใช้ไมค์ Avantoen CK-1 เป็นไมค์คอนเดนเซอร์แบบ Small Diaphragm เพื่อเก็บรายละเอียดเสียงแส้สแนร์ที่คมชัด

โดยใช้ EQ, Gate และ Comp ใน Roland M5000

- Hi-Hat ใช้ไมค์ Avantone CK-1 เช่นกัน

โดยใช้ EQ, Gate และ Comp ใน Roland M5000

- Tom ใช้ไมค์ Avantone ATOM ได้เนื้อเสียงที่คม แน่น

โดยใช้ไมค์ปรีแอมป์ Warm Audio WA-412 ให้โทนเสียงที่พุ่ง ชัดเจน และใช้ EQ, Gate และ Comp ใน Roland M5000

- Overhead ใช้ไมค์ Warm Audio WA-87 เป็นไมค์คอนเดนเซอร์ แบบ Large Diaphragm

ที่ให้รายละเอียดของเสียงที่สมบูรณ์ตั้งแต่ย่านต่ำจนถึงสูง และมีเนื้อเสียงที่ใหญ่ คม ชัด เหมาะสมกับการเก็บเสียงกลองจากด้านบนทั้งชุดที่มีทั้งเครื่องทองเหลืองและกลองต่างๆ

โดยใช้ EQ, Gate และ Comp ใน Roland M5000

โดยกลองทั้งหมดจะใช้ Plate Reverb จาก Roland M5000 เพื่อสร้างมิติความกว้างและถูกจัดเข้ากรุ๊ปเพื่อทำ Bus Comp ขั้นแรกก่อน

- Bass เป็นไลน์ Direct จากชุดเอฟเฟคของศิลปินผ่าน DI Box และใช้ EQ, Comp ใน ROland M5000

- Guitar เป็นไลน์ Direct จาก Axe Effect ผ่าน DI Box

ใช้ EQ ใน Roland M5000 และ insert ตัว Empirical Lbas : FATSO เพื่อเพิ่ม Harmonicให้กีตาร์พุ่งชัดเจนขึ้น,

ใช้ Dynamic EQ ใน Roland M5000 ปรับแต่งเสียงอีกเล็กน้อย และใช้ Hall Reverb จาก Roland M5000 เพื่อช่วยเพิ่มมิติความกว้าง

- Acoustic Guitar เป็นไลน์ Direct ผ่าน DI Box ของ Telefunken TDA-1

โดยใช้ EQ และ Comp ใน Roland M5000

- Keyboard และ DATA เป็นไลน์ Direct  ผ่าน DI BOX ของ Telefunken TDA-2

โดยใช้ EQ และ Comp ใน Roland M5000

- Vocal ใช้ไมค์ปรีแอมป์ API Audio 3124+, ใช้ EQ ใน Roland M5000

จากนั้น insert ตัว Empirical Labs : Distressor เพื่อคอมเพรสเสียงร้องให้มี Dynamic ที่คงที่มากขึ้น เนื่องจากที่การร้องที่มีทั้งเสียงธรรมดาและเสียงตะโกนสลับกันตลอดเวลา

โดยเลือกลักษณะคาแรคเตอร์ฮาร์โมนิกเสียงต่างกันให้กับเสียงร้องหลักและคอรัสตามความเหมาะสม และใช้ Dynamic EQ อีกครั้ง เพื่อปรับแต่งเสียงอีกเล็กน้อย

โดยเสียงร้องจะใช้ Reverb จาก Roland M5000 ผสมกับ Yamaha SPX2000

 

สุดท้ายที่ Master Channel จะมีการ insert ตัว Dangerous Music : Compressor เป็น Master Buss เพื่อ glue ทุกอย่างให้มีความเป็นเนื้อเดียวกัน

อีกทั้งยังเพิ่มเนื้อเสียงให้มีความอิ่มและความ Punch มากขึ้น

 

รวมภาพต่างๆในตอนซ้อม

 




 




                                          (ทีม Monitor & FOH)

ขอขอบคุณ พี่เอ๋ (FOH Engineer) ที่เรียกใช้ และให้มีส่วนร่วมในงานคอนเสิร์ตใหญ่นี้

ขอบคุณ พี่กุ่ย (Monitor Engineer) น้องนัท (Assist.) ทีมงาน RetrospectCrew และวง Retrospect ด้วยครับ

รวมถึงทีมงานฝ่ายอื่นๆทุกท่านที่ทำให้คอนเสิร์ตนี้สมบูรณ์ไปด้วยกัน :)

 

ชมภาพบรรยากาศการซ้อมเพิ่มเติมได้ที่ >>> ภาพบรรยากาศวันซ้อม (20-04-2561)

ชมภาพบรรยากาศงานวันจริงเพิ่มเติมได้ที่ >>> ภาพบรรยากาศวันจริง (21-04-2561)