วันนี้ Kimleng Audio มีบทความดีๆมาบอกกล่าวกัน เชื่อเลยว่าหลายๆคน คงได้ยินคำว่า Cardioid, Omnidirectional, หรือ Figure-8 ที่อยู่บนตัวไมค์มากันนักต่อนักเเล้ว แต่ความหมายจริงๆของมันนั้นคืออะไร และมันใช้งานยังไง รวมถึงปุ่มต่างๆที่อยู่บนตัวไมค์นั้นใช้ทำอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาเสริมความรู้ให้เพื่อนๆทุกคน เกี่ยวกับไมโครโฟนตัวเก่งของเพื่อนๆ ให้ใช้งานได้อย่างถูกต้อง และเข้าใจ ไปพร้อมๆกันเลยยยย.......

1.Cardioid (คาดิออย)
       Cardioid หรือเจ้ารูปคล้ายๆหัวใจคว่ำลง สัญลักษณ์นี้ หมายถึงการรับเสียงในส่วนด้านหน้าของไมค์เป็นหลัก ซึ่งเวลาที่เราปรับสวิตซ์ไปที่สัญลักษณ์นี้นั้น ตัวไมค์จะรับเสียงจากส่วนหน้าของไมค์ รวมถึงไล่ไปที่ด้านข้างทั้งซ้าย และ ขวา ได้ดีอีกด้วย ส่วนด้านหลังของไมค์แทบจะไม่รับเสียงเข้าไป หรือรับเข้าไปน้อยมากๆ

#ใช้เมื่อไหร่ : ข้อดีของการใช้โหมดนี้คือ เมื่อใดที่คุณต้องการบันทึกเสียงที่เฉพาะเจาะจง ไม่มีการเคลื่อนตัวไปไหน จึงไม่แปลกว่า การปรับแบบ Cardioid จะเหมาะต่อการบันทึกเสียงร้องมากที่สุด

2.Omnidirectional (หรือ ออมนิ)
       Omni ตัวนี้จะมีรูปลักษณะเป็นวงกลม นั้นหมายถึงการรับเสียงรอบตัวไมค์ทั้งหมดนั้นเอง แต่เมื่อใช้โหมดนี้เสียงที่รับก็จะเบาลงนิดหน่อย ทำให้อาจจะต้องเข้าไปใกล้ไมค์นิดนึง ถ้าผู้ใช้ต้องการความชัดของเสียง หรืออาจจะต้องปรับ Gain การรับเสียงเพิ่มขึ้นนิดหน่อยด้วย

#ใช้เมื่อไหร่ : เนื่องด้วยการใช้ Omnidirectional อาจจะไม่ได้เป็นที่นิยมในการใช้เท่า Cardioid เเต่ก็มีประโยชน์มากเมื่อคุณต้องการที่จะบันทึกเสียงโดยรอบทิศทางเข้าไปทั้งหมด เช่นการวางไมค์ไว้ในจุดกิ่งกลางของเสียงที่เราต้องการจะบันทึกนั้นเอง

3. Figure 8 (ฟิกเกอร์ เอทฺ)
       Figure 8 มีลักษณะเหมือนเลข 8 เป็นการรับเสียงจากหน้าไมค์และหลังไมค์เท่าๆกัน โดยที่ด้านข้างของไมค์ทั้งสองฝังจะไม่รับเข้าไป หรือรับเข้าไปน้อยมากๆ

#ใช้เมื่อไหร่ : Figure 8 ดูเหมือนจะเหมาะกับการบันทึกเสียงร้อง แบบหันหน้าเข้าหากันใช่ไหม ฮาๆ แต่ต้องบอกเลยว่า ส่วนใหญ่เราไม่ค่อยเจอสถานการณ์แบบนี้ซักเท่าไหร่ เพราะเราก็ใช้แบบคาดิออยซ์ ซะมากกว่า แต่ก็เหมาะกับการใช้ในสตูดิโอ เพื่องานบันทึกเสียง ที่ต้องการรับเสียงทั้งหน้าและหลังของไมค์ อย่างเช่น การบันทึกเสียงเครื่องดนตรี หรือตู้กีตาร์เป็นต้น

4. Low Cut
       Low Cut ตัวนี้ถือเป็นฟังชั่นสำคัญอีกย่างนึงบนไมโครโฟนเลยทีเดียว เมื่อเราต้องบันทึกเสียงร้องในห้อง ทำให้เราได้เสียงที่ชัดมากยิ่งขึ้น และตัดย่านความถี่ต่ำที่เล็ดลอดเขาไปในไมค์อีกด้วย

#ใช้เมื่อไหร่ : ส่วนใหญ่ใช้กับขณะบันทึกเสียงร้อง โดยเฉพาะเวลาเราบันทึกเสียงในห้องนอนของเรา เสียงเเอร์ที่ถือว่าเป็นความถี่ต่ำ ส่วนใหญ่เราจึงจะใช้ฟังชั่นนี้เพื่อคัดย่านที่เราไม่ต้องการออก

5. Pad -10dB
       สวิซต์ -10dB ตัวนี้ความหมายตรงตัว คือป็นการลดระดับสัญญานขาเข้าของไมค์ให้ลดจาก Gain มาตรฐานของไมค์ลง 10dB

#ใช้เมื่อไหร่ : ส่วนใหญ่ฟังชั่นนี้เราจะใช้กับการบันทึกเสียงเครื่องดนตรีซะส่วนใหญ่ เพราะการบันทึกเครื่องดนตรีบางชิ้นที่มีความดังค่อนข้างสูงอย่างพวกเครื่องเป่า หรือแม้แต่การบันทึกเสียงหน้าตู้แอมป์กีตาร์ ที่ทำให้ Gain รับเสียงมัน Peak ทำให้เสียงแตกเวลาอัด เราจึงใช้ -10dB ที่ตัวไมค์เพื่อลดสัญญานขาเข้า ทำให้ Gain การบันทึกเสียงนั้นอยู่ในระดับที่เราต้องการได้

       เป็นยังไงกันบ้างครับ หวังว่าเพื่อนๆจะได้ความรู้ไปบ้างไม่มากก็น้อยครับ และขอให้เพื่อนๆ ใช้งานไมโครโฟนตัวโปรดของเพื่อนๆอย่างถูกต้องด้วยนะครับ

แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า เจอกันคร้าบบบบ ^_^

สนใจสินค้าจาก Kimleng Audio 

ติดต่อสอบถามได้ที่ 02-312-0009, 086-351-8400

FB : www.facebook.com/kimlengaudio

Line@: @kimlengaudio (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)