6 tips ในการบันทึกเสียงแบบเต็มวง

ในบทความนี้ เราจะมาพูดถึงเบสิคการบันทึกเสียง ในรูปแบบเต็มวงพร้อมกันในสตูดิโอ

รวมถึงปัญหาต่างๆที่คุณจะต้องเจอ แก้ไข และตระหนักถึงในสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวการบันทึกเสียงแบบเต็มแบนด์

Recording

    เมื่อวงดนตรีวงใดวงนึงต้องการที่จะบันทึกเสียงพร้อมกันในครั้งเดียว สิ่งหนึ่งที่คุณต้องการนั้นก็คือ ช่อง Input และไมค์ที่มากเพียงพอต่อการบันทึกเสียงดนตรีแบบเต็มวง *อย่างน้อย 12-16 ช่อง* บทความนี้ยกตัวอย่าง Audio Interface จาก Audient รุ่น iD44 ที่ไม่ได้จำกัดการบันทึกเสียงเพียง 4 ช่องภายในตัวเท่านั้น iD44 ยังสามารถเพิ่มขยายช่อง Input เพิ่มได้อีกถึง 16 ช่อง (รวมเป็น 20 Input) โดยใช้ Mic Pres อย่างเช่น Audient รุ่น ASP800 หรือ ASP880 หรือไมค์พรีอื่นๆ ที่สามารถเชื่อมต่อผ่านสาย ADAT ได้ เมื่อวงดนตรีของคุณพร้อมเเล้วสำหรับการบันทึกเสียง สิ่งที่คุณต้องคำนึงถึง คือ Position การจัดวางอุปกรณ์ของเครืองดนตรีให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถบันทึกเสียงได้ดีเยี่ยมที่สุด และนี้คือ 6 เคล็ดลับ

.

1. บันทึกเต็มวงพร้อมกันก่อน แล้วมาบันทึกเสียงร้องเพิ่มอีกครั้ง

    แน่นอนเสียงร้องนั้นเป็นส่วนสำคัญและเป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้เพลงๆนึง สื่อความหมายและถ่ายทอดสู่ผู้ฟังได้เป็นอันดับต้นๆ แต่ถ้าเสียงร้องที่เราบันทึกไปไม่ดีพอล่ะ ในส่วนนี้ถ้าวงต้องการที่จะบันทึกเสียงพร้อมกันสิ่งที่เราควรมีในการบันทึกนั้นก็คือไมค์ไดนามิกคุณภาพดีเสียก่อน ยกตัวอย่างเช่น Telefunken M80 รวมถึงการบันทึกเสียงร้องเเยกเพิ่มอีกทีหลังจากการบันทึกในรูปแบบวงเสร็จเรียบร้อย ตรงนี้เป็นอีกส่วนสำคัญที่จะทำให้เสียงร้องที่เราได้นั้นออกมาสู้กับเหล่าเครื่องดนตรีต่างๆได้อีกด้วย

.

2.ใช้ฉากกั้นเสียง

    การใช้ฉากกันเสียงแยกกับเหล่าเครื่องดนตรีที่มีความดังมากๆเช่นกลองหรือตู้กีตาร์ ถ้าคุณมีพื้นที่มากพอก็สามารถแยกกลองหรือตู้กีตาร์ไปอีกห้องก็ทำให้การบันทึกเสียงง่ายยิ่งขึ้น แต่ฉากกั้นเสียงก็ควรที่จะมีหน้าต่าง เพื่อให้นักดนตรีทุกคนเห็นหน้ากัน เพื่อฟิลลิ่งการเเสดงพร้อมกันเป็นไออย่างราบรื่น

.

3. ไมค์เยอะ ปัญหาเยอะ?

    เมื่อใดที่คุณใช้ไมโครโฟนในการบันทึกเสียงมากกว่า 1 ไมค์ขึ้นไป สิ่งที่คุณต้องทำและจัดการนั้นก็คือปัญหาในเรื่องของ Phase นั้นเอง การแก้ไข Phase นั้นเป็นส่วนสำคัญลำดับต้นๆในการ Mix เมื่อคุณทำการปรับเเก้ไข Phase ถูกต้องเรียบร้อยเเล้ว เสียงที่คุณได้จะมีประสิทธิภาพอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว (เดี่ยวเราจะมาว่าในเรื่องของ Phase กันอีกครั้ง) แต่วิธีที่ง่ายที่สุดในการบันทึกเสียงแบบเต็มวงคือการตัดไมค์โครโฟนที่ไม่จำเป็นนั้นออกเสียบ้าง เราไม่จำเป็นจะต้องใช้ไมค์ครบทุกช่องตาม iD44 ที่ทำได้ถึง 20 ช่อง input หรอกนะ ลองตัดไมค์ที่ไม่จำเป็นออกเสียบ้าง และลองหาวิธีจัดการในสิ่งที่เหมาะสมเเละทำงานง่ายสำหรับคุณก็พอ

.

4. หากมีเสียงรั่วไหลเข้ามาบ้าง ไม่เป็นไร นั้นโอเคเเล้ว!!!

    การบันทึกเสียงแบบพร้อมกัน เสียงอื่นๆที่เข้ามาในไมค์ที่เราไม่ได้ตั้งใจจะบันทึกนั้นคงจะเป็นเรื่องปกติสำหรับการบันทึกเสียงแบบนี้ เเต่ถ้าคุณไม่ชอบเสียงรบกวนจากไมค์ที่ได้มา คุณก็แค่ใช้เหล่า Gate Plugin ต่างๆที่คุณมีจัดการมันซะ หรือตัดช่วงที่เครื่องดนตรีนั้นๆไม่ได้เล่นอยู่ออกซะบ้าง 

.

5. บันทึกเสียงร้องพร้อมวงเลย หรือบันทึกเสียงร้องทีหลัง?

  ถ้าเมื่อคุณตัดสิ่งใจที่จะบันทึกเสียงร้องพร้อมไปกับเหล่าเครื่องดนตรี สิ่งที่คุณควรคำนึงถึงคือการ ปรับบาลานซ์องประกอบและ ระดับเสียงรวมทั้งหมดให้ดีเสียก่อน เพราะหากคุณปรับบาลานซ์ Mix แทร็กบันทึกเสียงของคุณไม่ดีพอ คุณจะต้องกลับมาแก้ไขเสียงนั้นอีกเยอะแน่นอน

.

6. Converters!!

    คุณต้องมั่นใจใน audio interface ที่คุณมีว่าสามารถทำการแปลงสัญญานจาก Analog to Digital ในระดับ High Quality แล้ว Converters เป็นส่วนที่คนส่วนใหญ่มองข้ามมันไป converters เป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้คุณได้ยิน detail ของเสียงที่คุณบันทึกมาได้ดีมากยิ่งขึ้น และสามารถจัดการปัญหาเสียงของเเต่ละแทร็กของคุณได้ง่ายยิ่งขึ้นอีกด้วย อย่างเช่น iD44 ที่เราหยิบยกขึ้นมานั้น มีวงจร converters ระดับ Class A และไดนามิก เรนซ์ที่ 126db ซึ่งแน่นอนมันจะทำให้เสียงที่คุณได้ยินนั้นเที่ยงตรง และเชื่อถือในสิ่งที่ได้ยินอย่างไม่ต้องกังวลเลย

.

ทิ้งท้าย และนี้คือการบันทึกเสียงเต็มวง โดยใช้ Audient iD44 พร้อมทั้งเพิ่ม ไมค์พรี อีก 2 ชุดอย่าง ASP800 และ ASP880 ด้วย

บันทึกเสียงทั้งหมด 20 ช่อง ลองไปฟังกันดูเลยค้าบบ 

.

.

สนใจสินค้า สามารถเข้ามาทดสอบได้ที่ Kimleng Audio และตัวแทนจัดจำหน่ายทั่วประเทศ

ติดต่อ 02-312-0009, 086-351-8400

FB : www.facebook.com/kimlengaudio

Line@: @kimlengaudio (มี @ ข้างหน้าด้วยนะครับ)